ยินดีต้อนรับ

ขอต้อนรับทุกท่านสู่ Weblog เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ติชมได้ค่ะ



วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ความฉลาดทางสติปัญญา

ความฉลาดทางสติปัญญา หรือ ไอคิว ( INTELLIGENCE QUOTIENT)





เป็นการวัดความสามารถทางคิดวิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่านเขียน คำนวณแต่ไม่ได้วัดด้านอื่น ๆ


เช่น ความคิดสร้างสรรค์, ทักษะต่าง ๆ ด้านการทำงาน,ทักษะชีวิตประจำวัน ฯลฯ วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง

images by uppicweb.com




การจัดการเรียนร่วม

การจัดการเรียนร่วม ( Inclusive Education) เป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเด็กพิการในวัยเรียน ( อายุ 0- 18 ปี ) ได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง เสมอภาค กระจายโอกาสให้เด็กพิการทุกคน ทุกประเภทความพิการ ที่กระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ สามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในระดับปฐมวัย โดยเฉพาะการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ( EI : Early Intervention ) การได้รับบริการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP : Individualized Education Program ) และแผนการการสอนเฉพาะบุคคล (IIP : Individual Implementation Plan ซึ่งจะเป็นการรับการพัฒนาสมรรถภาพควบคู่กับการเรียนการสอน โดยเฉพาะการพัฒนาสมรรถภาพ จะได้รับบริการตามระบบบริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นใดที่เหมาะสมกับระดับและประเภทความพิการ ตามระบุไว้ใน IEP ของเด็กพิการแต่ละคน ซึ่งสนองเจตนารมณ์ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขครั้งที่สอง พ.ศ. 2545 ในมาตรา 10 วรรคสอง และวรรคสาม (การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผ้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ / การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิด หรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง) อีกทั้งเป็นการจัดการศึกษาที่ทำให้เด็กพิการได้เรียนรู้ในสถานศึกษาใกล้บ้าน ได้มีความอบอุ่นภายในครอบครัว ชุมชน สังคมของตนเอง
ดังนั้น การจัดการเรียนร่วม จึงเป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กพิการทุกคนและครอบครัวของเด็กพิการด้วย และสะท้อนประโยชน์ด้านสังคมสันติสุขของประเทศได้ต่อไปอีกด้วย และขณะนี้ ปี 25มีเด็กพิการวัยเรียน(0- 18 ปี) จำนวน 304,681 คน (เทคนิคประมาณตามเกณฑ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ คือ ร้อยละ 1.8 ของจำนวนประชากรเด็กไทย วัยเรียน ซึ่งปี 2548 มีจำนวน 16,926,736 คน)และจากนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 ประกาศว่า เด็กพิการที่อยากเรียนต้องได้เรียน ทำให้ปีการศึกษา 2548 มีจำนวนเด็กพิการทั้ง 9 ประเภท ได้เรียนร่วมกระจายอยู่ในโรงเรียนทั่วไป จำนวน 238,479 คน ใน 21,959 โรงเรียน ซึ่งเป็นผลงานด้านเชิงปริมาณ แต่ในด้านคุณภาพการพัฒนาเด็กพิการเรียนร่วมยังมีปัญหาอยู่มาก และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาจขั้นพื้นฐานโดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้พยายามขจัดปัญหาดังกล่าวโดย ได้ร่วมกับคณะกรรมการกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ จัดสรรเงินกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ(มาจากเงินสลากปกติ) จัดทำโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 390 โรง (1 อำเภอ 1 โรง) ในปีการศึกษา 2547 และได้เสนอขอเงินสลากแบบพิเศษ เลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว จัดทำโครงการดังกล่าวต่อเนื่อง และขยายปริมาณ เป็น 2,000 โรง ในปีการศึกษา 2548 ทำให้สามารถพัฒนาครูในศูนย์การศึกษาพิเศษและโรงเรียนจัดการเรียนร่วมดังกล่าว ได้จัดระบบวิธีการสอนและพัฒนาเด็กพิการที่เรียนร่วมอย่างเป็นระบบด้วยการประเมิน คัดกรอง วินิจฉัยเด็กพิการและจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) กับแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ตลอดจนจัดระบบสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นใดที่เหมาะสมกับระดับและประเภทความพิการของเด็กพิการแต่ละคนได้อย่างต่อเนื่อง โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยแหล่งเงินภายนอก และในปีงบประมาณ 2550 เป็นปีแรกที่รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อเนื่อง และการบริหารงบประมาณจะต้องมีความถูกต้องตามระเบียบกฎหมายงบประมาณที่เกี่ยวข้อง และต้องใช้ให้ทันภายในระยะเวลาปีงบประมาณนั้นๆ รวมทั้งต้องได้ผลสำเร็จของงานตามวัตถุประสงค์ของการขอจัดตั้งงบประมาณดังกล่าวนี้ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เห็นควรกำหนดเอกสารคู่มือแนวทางการบริหารโครงการการจัดการเรียนร่วม และงบประมาณรองรับโครงการนี้เสนอมาพร้อมนี้ ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของ 4 หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง คือ (1) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ( 2) ศูนย์การศึกษาพิเศษ 76 แห่ง (3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 175 เขต และ (4) โรงเรียนทั่วไปจัดการเรียนร่วม ในโครงการดังกล่าวอย่างมากต่อไป
-----------------------------  -------------------------------------------------

สื่อการเรียนการสอน

อบรมหลักสูตร



















การประชุมปฏิบัติการ
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551 การรายงานโครงการ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด และการนำผลการวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน
วันที่ 4 – 5 กันยายน 2552














อบรมฺBackward






การฝึกอบรม เรื่อง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด
การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design
วันที่ 11 - 12 กรกฎาคม 2552
ณ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูราชบุรี จังหวัดราชบุรี



ค่ายจิตอาสา

จัดกิจกรรมค่ายจิตอาสา

วันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2553 - 1 มีนาคม 2553

ณ โรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง (บ้านบ่อหวี) อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี








ปัจฉิมนิเทศ


กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
วันที่ 25 - 26 กุมภาพันธ์ 2553
ณ บ้านเย็นเนซาเลต อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี